การผลิตบัณฑิตและการพัฒนา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เรียนรู้จริง ปฏิบัติจริง กับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการมาตรฐาน หลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เรียนจบแล้วสามารถสอบใบ กว.ได้ เปิดสอนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัย สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์หลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดลอ้มในการทำ งาน และสุขศาสตร์อุตสาหกรรม หรือตำแหน่งอื่นๆได้
2) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้ง ด้านภาษาตามมาตรฐานสากล
3) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพทั้งลูกจ้างและนายจ้างได้อย่างมีความสุข
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) วิศวกรความปลอดภัย (Safety Engineer)
2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (Safety Officer, Professional Level) หรือ จป.วิชาชีพ
3) นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygienist)
4) นักอาชีวอนามัย (Occupational Health Officer)
5) พนักงานตรวจความปลอดภัย (Safety Auditor)
6) ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย (Safety Officer, Senior Professional Level)
7) เจ้าหน้าที่ใหบ้ริการตรวจวัดสภาพแวดล้อม (Environmental Sampling Officer)
8) นักวิชาการหรือนักวิจัย (Academic Scholar or Researcher)
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์หลักสูตร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Internet of Things สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน
2. เพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ ทั้งลูกจ้างและผู้ประกอบการ ได้อย่างมีความสุข
3. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ การเรียนรู้ วิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Internet of Things เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ
อัตลักษณ์ : มีคุณธรรม เชี่ยวชาญปฏิบัติ สามารถเทคโนโลยี เรียนรู้รอบด้าน สร้างสรรค์นวัตกรรม IoT
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์หลักสูตร
(1) เพิ่มจำนวนวิศวกรสิ่งแวดล้อมระดับบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในการควบคุม ออกแบบ และแก้ไขปัญหาภาวะมลพิษที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับโรงงาน และระดับชาติ
(2) ผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineer, Env) ที่ได้มาตรฐานการอุดมศึกษาของรัฐ มาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรม ของสภาวิศวกรของประเทศ และได้มาตรฐานสากลขององค์กรควบคุมมาตรฐานระหว่างประเทศ
(3) ผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่ตรงกับความต้องการ ทันกับเทคโนโลยี และตรงกับตลาดแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรม
(4) ผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่เป็นนักปฏิบัติงานเชิงรุก มีความเข้มแข็ง และอดทน เป็นผู้รอบรู้ชำนาญการในเทคโนโลยีแบบวิศวกรสิ่งแวดล้อม
(5) ผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ สามารถอ่านข้อกำหนดมาตราฐานภาษาอังกฤษได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและแม่นยำ
(6) ผลิตวิศวกรสิ่งแวดล้อม ที่มีใจรักบริการ และให้บริการอย่างเสมอภาคกับผู้ใช้บริการทุกระดับเพื่อสนองความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าที่มีศักยภาพให้มีโอกาสศึกษาด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
(7) เพื่อสนองนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐที่จะส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมสำหรับการจัดการศึกษาในสาขาที่มหาวิทยาลัยเอกชนมีความพร้อม
โอกาสทางวิชาชีพ
(1) ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง การเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ เป็นต้น
(2) ทำงานในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่นจำหน่ายเครื่องมือ หรือผลิตอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง จำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดมลพิษ เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดมลพิษอากาศ และระบบกำจัดกากของเสีย เป็นต้น
(3) ทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในตำแหน่งผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบมลพิษอากาศ ผู้ควบคุมระบบกำจัดมลพิษกากอุตสาหกรรม
(4) อาจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม นักวิจัยหรือถ่ายทอดเทคโนโลยี